บันทึกการเรียนครั้งที่9
วันพุธที่ 2ตุลาคม พ.ศ. 2562
EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
💬วันนี้มีการจัด สัมมนาหลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 1 ( Internship 1 ) ของพี่ๆชั้นปีที่ 5 ที่ได้ออกไปฝึกสอนที่โรงเรียนต่างๆ
ซึ่งอาจารย์ให้นักศึกษามาเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากรุ่นพี่
ภายในงานจะมีการนำเสนอการจัดการเรียนการสอน และ ตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนในเรื่องต่างๆ
ดังนี้
💚แนวการสอนแบบไฮสโคป (High/Scope)
เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือทำผ่านมุมกิจกรรมที่หลากหลาย
ที่มีสื่อและการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กเป็นตัวช่วย
โดยปล่อยให้เด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระด้วยตัวเอง
มีพื้นฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีของเพียเจท์ (Piage’s Theory)
ที่ว่าด้วยการพัฒนาทางสติปัญญา
ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ
ซึ่งเด็กสามารถสร้างความรู้ได้เองโดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้ (Constructive process of learning) ผ่านการกระทำของตน
และการประเมินผลงานอย่างมีแบบแผน
หัวใจของไฮ/สโคป
หลักปฏิบัติสำคัญที่ถือเป็นหัวใจของการจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคปนั้น ประกอบด้วยกระบวนการ 3 กระบวนการ อันได้แก่
1. การวางแผน (Plan) เป็นการให้เด็กกำหนดแนวทางการปฏิบัติ
หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือตามสิ่งที่ตัวเองสนใจ
โดยคุณครูจะต้องเปิดโอกาสให้เด็กสนทนากับครู หรือสนทนาระหว่างเพื่อนด้วยกัน
เพื่อวางแผนการทำงานอย่างเหมาะสม ว่าจะทำอะไร อย่างไร
การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กต้องมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ ซึ่งอาจจะบันทึกด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูช่วยบันทึกก็ได้
ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยส่งเสริมความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองของเด็กและความรู้สึกในการควบคุมตนเอง
ทําให้เด็กสนใจในกิจกรรมที่ตนเองได้วางแผนไว้
2. การปฏิบัติ (Do) คือ
การให้เด็กลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้อย่างอิสระตามเวลาที่กำหนด
โดยเน้นให้เด็กได้ช่วยกันคิด ทดลองและแก้ปัญหาร่วมกันอย่างมีจุดมุ่งหมาย
ได้เรียนรู้ตามประสบการณ์ ค้นพบความคิดใหม่ๆ
โดยคุณครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะและให้คำแนะนำ มากกว่าจะลงไปจัดการด้วยตัวเอง
การทบทวน
3. (Review) คือกระบวนการที่ให้เด็กสะท้อนผลงานของตัวเองที่ได้ลงมือทำผ่านการพูดคุยหรือแสดงผลต่างๆ
เพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่
มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง
ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง
นวัตกรรมจัดการศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดไฮ/สโคปนั้น
นับได้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งที่ตอบโจทย์ของการจัดการศึกษาที่มีที่มีประสิทธิภาพ
ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบ Active Participatory Learning คือ
การให้เด็กมีประสบการณ์ตรงกับคน สิ่งของ เหตุการณ์ และความคิด
ซึ่งนับว่าเป็นทักษะที่สำคัญในโลกยุคสมัยนี้เป็นอย่างยิ่ง
ให้กับครูการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมเด็กดีระดมสมองที่ร่วงหาเรื่องที่อยากเรียนประสบการณ์เดิมของเด็กเด็กเด็กเคยขึ้นเรือไหมให้ถามคำถามเกี่ยวกับเรือกับเด็กๆ
โครงร่างวิจัย
ตั้งคำถามก่อนเล่าประสบการณ์เดิมมีให้เด็กวาดภาพขึ้นกับสิ่งแวดล้อมเด็กรู้เรื่องเรือคืออะไรประเภทของเรือส่วนประกอบต่างๆอุปกรณ์วัสดุเรือมีกี่สีเรือมีกี่ชนิดมีการทำแห่งชาติเกี่ยวกับเรือกิจกรรมทัศนศึกษาการเขียนแผนก็คือแบ่งตามประสบการณ์ประเภทกิจกรรมสาระการเรียนรู้ขั้นตอนการทำขั้นสอน
ขั้นสรุป จะประเมินผล
💛แนวการสอนแบบโครงการ ( Project
Approach )
Project Approach เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ให้เด็กรูปแบบหนึ่ง
ที่ให้โอกาสเด็กเลือกเรียนรู้ในสิ่งที่เด็กสนใจในสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเด็ก
โดยเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ ตั้งคำถามในสิ่งที่ยังต้องการเรียนรู้หาคำตอบ
รวมทั้งดำเนินการวางแผน สำรวจ สืบค้น บันทึก คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
และคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลและความรู้ต่างๆ
เด็กเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยประสบการณ์ตรงหลากหลายวิธี
แล้วสุดท้ายเด็กและครูร่วมกันสรุปเรียบเรียงขั้นตอนการเรียนรู้
และสิ่งที่เรียนรู้ออกมาเป็นชิ้นงานและนิทรรศการอันเป็นการสรุปความคิดรวบยอดที่ดี
ต่อจากนั้นก็ทำการเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รับรู้ซึ่งเป็นการเรียบเรียงทบทวนวิธีการทักษะและข้อมูล
ในการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เป็นระบบ
การเรียนรู้แบบ Project
Approach จะเป็นการเรียนรู้อย่างลุ่มลึกในสิ่งที่เด็กสนใจใกล้ตัวซึ่งเปรียบเทียบได้กับการเรียนรู้ด้วยวิธีการการดำเนินการวิจัยเบื้องต้น
การสอน 3 ระยะของ Project Approach
การเรียนรู้แบบ Project
Approach แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 : การเริ่มต้นโครงการ
คุณครูร่วมกันอภิปรายหัวข้อกับเด็ก ๆ เพื่อค้นหาประสบการณ์ที่เด็กมี
สิ่งที่เด็กรู้แล้ว และสิ่งที่เด็กอยากรู้ เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้จากประสบการณ์
และแสดงความเข้าใจแนวคิดที่เกี่ยวข้อง จากการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
ระยะที่ 2 : การพัฒนาโครงการ
ขั้นตอนนี้จะเป็นการจัดโอกาสให้เด็ก ๆ
ได้ทำงานภาคสนามและพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กสนใจเรียนรู้
โดยคุณครูจะเป็นผู้จัดหาทรัพยาการต่าง ๆคำถามถาม เพื่อกระตุ้นให้เด็กตอบคำถาม
เพื่อช่วยเด็กในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลด้วยวัตถุจริง เปิดโอกาสให้เด็กแต่ละคนมีส่วนร่วมในการเป็นตัวแทนของสิ่งที่เค้ากำลังสืบค้น
และช่วยให้เด็กสามารถทำงานตามความสามารถของตัวเองได้
ระยะที่ 3 : การสรุปโครงการ
เด็กและคุณครูร่วมกันจัดนิทรรศการ
โดยให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อ Project
Approach ให้เด็ก ๆ ช่วยกันอภิปรายถึงหลักฐานที่สืบค้น
เปรียบเทียบการตั้งสมมุติฐานว่าตรงกันหรือไม่
เล่าเรื่องโครงการของพวกเขาให้ผู้อื่นฟัง โดยเน้นจุดเด่นของโครงการ
คุณครูและผู้ปกครองช่วยเด็ก ๆ วางแผนการดำเนินการ
พร้อมเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็ก ๆ ทำและค้นพบ อย่างเต็มความสามารถ
ความสนุกสนาน ความกระตือรือร้นและความภูมิใจในตัวเด็กผ่านผลงานต่าง ๆ
🚣 บรรยากาศภายในงาน 🚢
คำศัพท์
- Review
ทบทวน
- Internship
ฝึกงาน
- Interview
สัมมนา
- Boat เรือ
- Project โปรเจกต์
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ดูแลได้อย่างทั่วถึงเนื่องจากวันนั้นอาจารย์ต้องไปเป็นกรรมการให้คะแนนในการนำเสนอผลงาน
ประเมินเพื่อน: เพื่อนก็ช่วยกันตอบคำถามของอาจารย์แต่ว่าบางทีปิดเครื่องก็เลยแบบไม่อยากตอบบ้างมีเพื่อนส่วนหนึ่งก็เล่นบ้างอะไรบ้างไม่ได้สนใจอะไรมาก
ประเมินตนเอง : ได้เทคนิคในการสอนเด็กได้รับความรู้มากมาย