วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562

RECORDTNG DIARY4




บันทึกการเรียนครั้งที่4


วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562

EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ให้ไปดูงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ 

เที่ยวงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2562 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-25 สิงหาคม 2562 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี 





   
























RECORDTNG DIARY3




บันทึกการเรียนครั้งที่3

วันศุกร์ ที่  16 สิงหาคม 256

 เวลา 08:30-12:30รหัสวิชา

 EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

การเรียนการสอนได้เรียนพร้อมกัน เซค1และ เซค2 ได้ให้นักศึกษาจับกลุ่มเข้าหากันพร้อมที่จะศึกษางานกลุ่มตนเอง กลุ่มของฉันได้เรื่อง เสียง




เสียง เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านสสารในสถานะก๊าซ ของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้
เมื่อการสั่นสะเทือนนั้นมาถึงหู มันจะถูกแปลงเป็นพัลส์ประสาท ซึ่งจะถูกส่งไปยังสมอง ทำให้เรารับรู้และจำแนกเสียงต่างๆ
การเกิดเสียง
เสียง เริ่มเกิดขึ้นเมื่อวัตถุหรือแหล่งกำเนิดเสียงมีการสั่นสะเทือนส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของโมเลกุลของอากาศที่อยู่โดยรอบ กล่าวคือโมเลกกุลของอากาศเหล่านี้จะเคลื่อนที่จากตำแหน่งเดิมไปชนกับโมเลกุลที่อยู่ถัดไป ก่อให้เกิดการถ่ายโอนโมเมนตัมจากโมเลกุลที่มีการเคลื่อนที่ให้กับโมเลกุลที่อยู่ในสภาวะปกติ จากนั้นโมเลกุลที่ชนกันนี้จะแยกออกจากกันโดยโมเลกุลที่เคลื่อนที่มาจะถูกดึงกลับไปยังตำแหน่งเดิมด้วยแรงปฏิกิริยาและโมเลกุลที่ได้รับการถ่ายโอนพลังงานจะเคลื่อนที่ไปชนกับโมเลกุลที่อยู่ถัดไป ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นสลับกันไปมาได้เมื่อสื่อกลาง (ในที่นี้คืออากาศ) มีคุณสมบัติของความยืดหยุ่น การเคลื่อนที่ของโมเลกุลอากาศนี้จึงเกิดเป็นคลื่นเสียง




คุณลักษณะของเสียง
คุณลักษณะเฉพาะของเสียง ได้แก่ ความยาวช่วงคลื่น แอมปลิจูด และความเร็ว
เสียงแต่ละเสียงมีความแตกต่างกัน เสียงสูง-เสียงต่ำ, เสียงดัง-เสียงเบา, หรือคุณภาพของเสียงลักษณะต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดเสียง และจำนวนรอบต่อวินาทีของการสั่นสะเทือน
ความถี่ระดับเสียง (pitch) หมายถึง เสียงสูงเสียงต่ำ สิ่งที่ทำให้เสียงแต่ละเสียงสูงต่ำแตกต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับความเร็วในการสั่นสะเทือนของวัตถุ วัตถุที่สั่นเร็วเสียงจะสูงกว่าวัตถุที่สั่นช้า โดยจะมีหน่วยวัดความถี่ของการสั่นสะเทือนต่อวินาที เช่น 60 รอบต่อวินาที, 2,000 รอบต่อวินาที เป็นต้น และนอกจาก วัตถุที่มีความถี่ในการสั่นสะเทือนมากกว่า จะมีเสียงที่สูงกว่าแล้ว หากความถี่มากขึ้นเท่าตัว ก็จะมีระดับเสียงสูงขึ้นเท่ากับ 1 ออกเตฟ (octave) ภาษาไทยเรียกว่า 1 ช่วงคู่แปด
ความยาวช่วงคลื่น
ความยาวช่วงคลื่น (wavelength) หมายถึง ระยะทางระหว่างยอดคลื่นสองยอดที่ติดกันซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการอัดตัวของคลื่นเสียง (คล้ายคลึงกับยอดคลื่นในทะเล) ยิ่งความยาวช่วงคลื่นมีมาก ความถี่ของเสียง (ระดับเสียง) ยิ่งต่ำลง
ความกว้างช่วงคลื่น
ความกว้างช่วงคลื่น (bandwidth) หมายถึง ขนาดของวงคลื่นสองวงที่แผ่กันซึ่งเกิดขึ้นเมื่อความยาวของคลื่นเสียงมีน้อย ยิ่งความกว้างช่วงคลื่นมีมาก ความถี่ของเสียง (ระดับเสียง) ยิ่งสูงขึ้น

ความดันเสียง


หมายถึง ค่าความดันของคลื่นเสียงที่เปลี่ยนแปลงไปจากความดันบรรยากาศปกติ ซึ่งค่าความดันที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุด คือ    ค่าความสูงคลื่นหรือแอมปลิจูด   การตอบสนองของหูต่อความดันเสียง
ไม่ได้มีลักษณะเป็นเส้นตรง แต่มีความสัมพันธ์นลักษณะของลอกาลิทึม (Logarithm) ดังนั้น ค่า
ระดับความดันเสียง ที่อ่านได้จากการตรวจวัดโดยเครื่องวัดเสียงนั้น เป็นค่าทีได้จากการเปรียบเทียบกับความดันเสียงอ้างอิงแล้ว มีหน่วยวัดเป็น เดชิเบล (decibel : dB)

แอมพลิจูด
แอมพลิจูด (amplitude) หมายถึง ความสูงระหว่างยอดคลื่นและท้องคลื่นของคลื่นเสียง ที่แสดงถึงความเข้มของเสียง (Intensity) หรือความดังของเสียง (Loudness) ยิ่งแอมปลิจูดมีค่ามาก ความเข้มหรือความดังของเสียงก็ยิ่งเพิ่มขึ้น
ประเภทของเสียง
แบ่งตามลักษณะการเกิดเสียงได้ 3 ลักษณะ
1. เสียงดังแบบต่อเนื่อง (continuous Noise) เป็นเสียงดังที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ เสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (steady-state Noise) และเสียงดีงต่อเนื่องที่ไม่คงที่  (Non steady state Noise)
1.1 เสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (Steady-state Noise) เป็นลักษณะเสียงดังต่อเนื่องที่มีระดับเสียง เปลี่ยนแปลง ไม่เกิน 3 เดซิเบล เช่น เสียงจากเครื่องทอผ้า เครื่องปั่นด้าย เสียงพัดลม เป็นต้u
1.2 เสียงดังต่อเนื่องที่ไม่คงที่  (Non-steady state Noise)  เป็นลักษณะเสียงดังต่อเนื่องที่มี ระดับเลียงเปลี่ยนแปลงเกินกว่า  10 เดชิเบล  เช่น เสียงจากเลื่อยวงเดือน    เครื่องเจียร    เป็นต้น
2. เสียงดังเป็นช่วงๆ (lntermittent Noise) เป็นเสียงที่ดังไม่ต่อเนีอง มีความเงียบหรีอเบากว่าเป็นระยะๆลลับไปมา เช่น เสียงเครื่องปั๊ม/อัดลม เสียงจราจร เสียงเครื่องบินที่บินผ่านไปมา เป็นต้น
3. เสียงดังกระทบ หรือ กระแทก (lmpact or lmpulse Noise) เป็นเสียงที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดอย่างรวดเร็ว ในเวลาน้อยกว่า 1 วินาที มีการเปลี่ยนแปลงของเสียงมากกว่า 40 เดชิเบล เช่น เสียงการตอกเสาเข็ ม การปั๊มชิ้นงาน การทุบเคาะอย่างแรง เป็นต้น


 คำศัพท์

  1. Degree ระดับ
  2. Variation การเปลี่ยนแปลง
  3. Sound  เสียง
  4. Nature  ธรรมชาติ
  5. Continuous Noise เสียงดังแบบต่อเนื่อง


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์หยิบยกตัวอย่างต่างๆมากมายเพื่อที่จะให้เราเข้าใจ และอธิบายให้ฟังคนกว่าจะเข้าใจ อาจารย์ใจเย็นมาก

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและช่วยกันตอบคำถาม

ประเมินตนเอง : ศึกษาค้นคว้าให้ความร่วมมือกับเพื่อนภายในกลุ่มได้ดี ได้แสดงออกทางความคิดกับเพื่อนและอาจารย์






RECORDTNG DIARY2





บันทึกการเรียนครั้งที่2





วันพุธ ที่  14 สิงหาคม 256

เวลา 08:30-12:30รหัสวิชา

EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย





😊อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม5คน ให้แต่ละคนแสดงความคิดในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แสดงความรู้ลงในSCIENCE PRO GROUP101

การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นของสมองในช่วงปฐมวัย  แต่ขณะเดียวกันพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
 อายุ  2 – 6  ขวบ เด็กจะรับรู้และคิดถ่ายโยงเป็นทิศทางเดียวไม่ซับซ้อน  เช่น  รู้สี  รู้รูปร่าง  โดยรู้ทีละอย่าง  จะเรียนรู้สองอย่างพร้อมกันไม่ได้  หรือเอามาผนวกกันไม่ได้  ซึ่งการเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเพื่อฝึกเด็กให้บูรณาการข้อความรู้ต่าง ๆ  เข้าด้วยกันโดยให้เด็กรู้จักสังเกต  ค้นหา  ให้เหตุผล  หรือทดลองด้วยตนเอง

-การใช้เพลงเป็นสื่อให้เด็กทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการทำงานของสมองทั้งสองซีก

-การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5ลงมือกระทำ

-การเรียนรู้จากง่ายไปยาก จากยากไปง่ายเกิดความสัมพันธ์กันของสมอง

ซึมซับรับรูปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่เกิดการเรียนรู้

เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อการอยู่รอ





คำศัพท์

.Behavior  พฤติกรรม
.Brain        สมอง
Recognition  การรับรู้
Change การเปลี่ยนแปลง
Test               ทดลอง
Absorb     ซึมซับ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำได้ดีมาตรงเวลา

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและช่วยกันตอบคำถาม


ประเมินตนเอง : มีความตรงต่อในเวลาเรียนมากขึ้น  ให้ความร่วมมือในชั้นเรียน





RECORDTNG DIARY1




บันทึกการเรียนครั้งที่1


วันพุธ ที่  7 สิงหาคม 2562

 เวลา 08:30-12:30

รหัสวิชา  EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



ในการเรียนการสอนสำหรับวันนี้อาจารย์ได้ให้ทั้ง2กลุ่มเข้าเรียนพร้อมกันเพื่อที่จะได้อธิบายเกี่ยวกับการเรียนการสอน และ
รายละเอียดของรายวิชา
อาจารย์ได้ชี้แจงเกี่ยวกับการทำงานและเนื้อหาในการจัดทำBLOGGERว่าวิจัยทางวิทยาศาสตร์
บทความ ตัวอย่างการสอนจะต้องทำเป็นภาษาอังกฤษ
ลิงค์บล็อกกับเพื่อนๆในห้องเรียนให้เรียบร้อย




คำศัพท์
The article                            บทความ
Research                              วิจัย
Science                                วิทยาศาสตร์
Teaching examples              ตัวอย่างการสอน
Doing Work                       การทำงาน


ประเมินอาจารย์: อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา อธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียดและเข้าใจ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆได้ซักถาม และตอบต่ออาจารย์ ในส่วนที่เข้าใจและไม่เข้าใจ

ประเมินตนเอง: เข้าใจและได้รู้งานที่อาจารย์ได้มอบหมายไว้