วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2562

RECORDTNG DIARY10



บันทึกการเรียนครั้งที่10

วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2562
EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ให้ออกมาทำการทดลองอีกครั้งก่อนที่จะออกไปทำการทดลองกับเด็กๆ ในนสถานที่จริง เพื่อดูความพร้อมและหาข้อที่ต้องปรับปรุงของแต่ละกลุ่มอีกครั้ง
กลุ่มที่ 1 การแยกเกลือ พริกไทย
กลุ่มที่ 2  ลูกโปร่งพองโต
กลุ่มที่ 3 โลกของแสงสีและรวดลายพิศวง
กลุ่มที่ 4 การลอยจมของน้ำมัน
กลุ่มที่ 5  ภูเขาไฟลาวา
กลุ่มที่ 6  ลูกข่างหลากสี
                           ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาทำสื่อที่ทำจากกระดาษ 1แผ่น  โดยใช้การพับกระดาษและวาดภาพมาใช้ในการทำสื่อเพื่อเพิ่มลูกเล่น ให้สวยงาม  และอาจารย์ค่อยๆบอกขั้นตอนในการทำอย่างช้าๆและเทคนิคต่างๆที่ให้มีความน่าสนใจ
ชิ้นที่ 1 ภาพเคลื่อนไหว
ชิ้นที่ 2 ภาพหมุน
         ตัดกระดาษ แล้วนำมาพับ แบ่งครึ่ง วาดภาพที่มีสัมพันธ์กัน 2 ด้าน  ตกแต่งให้สวยงาม หลังจากใช้เศษกระดาษที่ไม่ใช้แล้ว นำมาหมุนเป็นไม้ เสียบเข้ากับกระดาษที่วาดไว้

คำศัพท์
2.Paper    กระดาษ

3. Pressure แรงดัน

4.wind ลม

5.The media  สื่อ
แบบประเมินตนเอง
           ตนเองได้รู้จักการวางแผน และช่วยเพื่อนทำงานกลุ่ม

แบบประเมินเพื่อน
                         เพื่อนแต่ละคนตั้งใจฟังอาจารย์ ต่างคนออกแบบสื่อของตนเอง เมื่อไม่เข้าใจก็ถาม อาจารย์อยู่ตลอด
              แบบประเมินอาจารย์ 
                อาจารย์ตั้งใจสอน และค่อยๆอธิบายไปอย่างช้า และค่อยๆสอนไปอย่างละขึ้นตอนทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่าย   
                              


RECORDTNG DIARY11



บันทึกการเรียนครั้งที่11
               วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาไปทำกิจกรรมที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซอยเสือใหญ่ มีการจัดกิจกรรม 3 กลุ่ม ส่วนอีก 3 กลุ่มนั้นให้ไปช่วยเหลือเพื่อน 

🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷

🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷


🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷

แบบประเมินตนเอง
           ตนเองได้รู้ช่วยเหลือเพื่อน
แบบประเมินเพื่อน
           เพื่อนแต่ละคนตั้งใจฟังอาจารย์ และ คอยฟังคำแนะนำ
แบบประเมินอาจารย์ 
          อาจารย์จะคอยดูเวลาเราสอน จะคอยแนะนำ อยู่เสมอ   

RECORDTNG DIARY12

บันทึกการเรียนครั้งที่12
               วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาไปทำกิจกรรมที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซอยเสือใหญ่ มีการจัดกิจกรรม 3 กลุ่ม ส่วนอีก 3 กลุ่มนั้นให้ไปช่วยเหลือเพื่อน 

🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷




แบบประเมินตนเอง
           ตนเองได้รู้ช่วยเหลือเพื่อน
แบบประเมินเพื่อน
           เพื่อนแต่ละคนตั้งใจฟังอาจารย์ และ คอยฟังคำแนะนำ
แบบประเมินอาจารย์ 
          อาจารย์จะคอยดูเวลาเราสอน จะคอยแนะนำ อยู่เสมอ 

RECORDTNG DIARY13

                                       บันทึกการเรียนครั้งที่13

                  วันนี้อาจารย์มาคุยเรื่องการประดิษฐ์ของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ว่าจะต้องทำยังไงบ้าง แล้วจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มเอางานให้ดูว่าแต่ละกลุ่มจะประดิษฐ์อะไร 

RECORDTNG DIARY14

      บันทึกการเรียนครั้งที่14

          วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานกลุ่มและงานเดี่ยว

นำเสนองาน 

กลุ่มเครื่องกล บ่อตกปลา


คาดดีด    จะอาศัยโมเมนต์ คือ วัตถุที่เป็นของแข็งและจุดหมุนอยู่จุดใดจุดหนึ่งของคาน  การออแรงจากจุดที่ห่างจากจุดหมุน จะเป็นการเพิ่มปริมาณขอโมนต์

รถไขลาน   ในระหว่างที่เราจะหมุนล้อรถนั้นจะมีหนังยางอยู่ เรียกว่า พลังงานศักย์ยืดยุ่น เมื่อปล่อยพลังงานศักย์ออกไปก็จะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ ทำให้วัตถุเคลื่อนที่

เรือใบพัด   ในระหว่างที่เราจะหมุนใบพัดนั้นจะมีหนังยางอยู่ เรียกว่า พลังงานศักย์ยืดยุ่น เมื่อปล่อยพลังงานศักย์ออกไปก็จะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ ทำให้วัตถุเคลื่อนที่

กลิ้งลูกแก้วลงรู   มีการเคลื่อนที่ตามแรงดึงดูดของโลกส่วนไหนที่มีความลาดชันมากจะเกิดการเปลี่ยน วัตถุจะเคลื่อนที่เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับมวลสารและความลาดชัน

จรวจ   การพับเครื่องบินไม่ว่าจะเทคนิคอะไร ตัววีเหมือนจรวด มีหัว มีปีกลู่ไปด้านหลังแล้วพุ่งไปด้านหน้า แรงที่กระทำจะเหมือนเดิม แต่แรงแหวกอากาศจะดีกว่า หลักการนี้ไม่ว่าจะเป็นสัตว์น้ำอย่างปลาหรือเครื่องบิน สิ่งใดๆ ก็ตามที่เคลื่อนผ่านของไหล (ของเหลว ก๊าซหรืออากาศ) จะเคลื่อนที่ได้ไกลแม้จะมีแรงต้านหรือแรงพุ่ง

กลุ่มแสง โรงละครหุ่นเงา


แผ่นซีดีหรรษา 
กล้องกลองแสง  แผ่นซีดี กับ กล้องกลองแส่ง จะมีหลักการที่คล้ายๆกัน คือแสงในธรรมชาติที่เรามองเห็น คือเเสงสีขาว และแสงสีขาวจะมีสีต่างๆอยู่ 7 สี เมื่อมีแสงมากระทบทำให้เราเห็นสีต่างๆ และแสงสีขาวที่เห็นเมื่อเรานำกระดาษสีเหลืองมา มันจะดูดแสงสีเหลืองทำให้เรามองเห็นภาพต่างๆเป็นสีเหลือง
กล้องกลองแสง  แสงที่ตกกระทบวัตถุและสะท้อนกลับมาผ่านรูเล็กๆแสงจะตกกระทบกับฉากและแสดงภาพของวัตถุหัวกลับกับวัตถุที่แสงตกกระทบ
กล้องสลับราย  
กล้องละลานตา   นำกล้องส่องไปที่แหล่งกำเนิดแสง แสงจะผ่านวัตถุที่ใส่ไว้ และสะท้อนกระจกเงาด้านในกลับไปกลับมาหลายครั้งจนเกิดเป็นลวดลายที่สวยงาม 

กลุ่มน้ำ กังหัน


ขวดน้ำทอนาโด   การหมุนของน้ำและแรงหมุนเกิดจากข้อมือของเรา และก่อให้เกิดแรงกระทำต่อชวดน้ำเลยทำให้น้ำเกิดการเคลื่อนที่และและมีทิผสทางเข้าสู่ศูนย์กลาง

เรือดำน้ำ   บีบขวดทำให้ปริมาตรของขวดลดลง น้ำในขวดมีแรงดันเพิ่มมากขึ้น และดันน้ำเข้าไปในปลอกปากกาทำให้จมเพราะมีน้ำหนักมากและเมื่อคลายมือออกปริมาตรขวดจะเพิ่มขึ้นกว่าเดิม แรงดันน้ำจะลดลงน้ำที่อยู่ในปลอกปากกาจะถูกอากาศภายในดันออกทำให้ปลอกปากกาเบาจึงลอยขึ้น

ทะเลในขวด   สารต่างๆชนิดกันมารวมตัวกันมักจะแยกตัวกันเมื่อโยกไปมาจะทำให้เกิดเป็นคลื่นในทะเล และที่น้ำมันลอยขึ้นเหนือน้ำเพราะในขวดนั้นมีปริมาตรน้ำมันที่น้อยกว่าน้ำ

ตู้กดน้ำจำลอง   เมื่อเราเปิดฝาขวดน้ำทำให้น้ำไหลและเมื่อเราปิดฝาจะทำให้น้ำหยุดไหลเพราะเกิดจากแรงดันของอากาศ

กลุ่มอากาศ ปืนอัดอากาศ

โฮเวอร์คราฟ ลูกโป่ง  เกิดจากอากาศที่ลูกโป่ง มีผลให้แรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัสพื้นลดลง แรงผลักในแนวนอนจึงดันให้เคลื่อนที่ไปจนกว่าลูกโป่งจะแฟบ

ตุ๊กตาลมคืนชีพ   อากาศในตัวแก้วจะลดลง ทำให้แรงดันอากาศจากข้างนอกที่มีมากกว่าแล้วมากระทำต่อถุง ทำให้ถุงยุบกลับเข้าไปในแก้ว 

รถพลังลม   แรงดันลมที่ออกจากลูกโป่งมีค่าเท่าใดก็จะมีแรงดันรถด้วยค่าเท่านั้น เกิดจากแรงปฏิกิริยา มีขนาดเท่ากับแรงกิริยา

เครื่องดูดจอมพลัง   เกิดจากแรงดันภายนอกที่มีมากกว่าทำให้ลูกโป่งนั้นเกิดการพองขึ้น

กลุ่มหินดินทราย เครื่องกรองน้ำ

ถาดหลุมหิน    มีการเคลื่อนที่ตามแรงดึงดูดของโลกส่วนไหนที่มีความลาดชันมากจะเกิดการเปลี่ยน วัตถุจะเคลื่อนที่เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับมวลสารและความลาดชัน
นาฬิกาทราย    การเคลื่อนที่ตามแรงดึงดูดของโลกและบริเวณที่มีความลาดชันมากจะเกิดการเปลี่ยนแปลง  แรงดึงดูดที่มากระทำต่อมวลสาร จะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ลงสู่ที่ต่ำเครื่องเขย่าจากหิน 
เครื่องเคาะจังหวะจากทราย    วัตถุสั่นสะเทือนก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียงจากนั้นก็จะถูกส่งผ่านตัวกลาง


กลุ่มเสียง กีตาร์

แตรช้าง   เมื่อลมที่เป่าลงไปกระทบกับลูกโป่งจะทำให้เกิดเสียงออกมา

ผลไม้หลาเสียง  

เครื่องเคาะจังหวะ

เครื่องดนตรี   ⇛ วัตถุสั่นสะเทือนก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง

แบบประเมินตนเอง
           ตนเองได้รู้จักการวางแผน และช่วยเพื่อนทำงานกลุ่ม
แบบประเมินเพื่อน
                         เพื่อนแต่ละคนตั้งใจฟังอาจารย์ ต่างคนออกแบบสื่อของตนเอง เมื่อไม่เข้าใจก็ถาม อาจารย์อยู่ตลอด
              แบบประเมินอาจารย์ 
                อาจารย์ตั้งใจสอน และค่อยๆอธิบายไปอย่างช้า และค่อยๆสอนไปอย่างละขึ้นตอนทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่าย    


RECORDTNG DIARY15

      บันทึกการเรียนครั้งที่15
เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์
1. ส่งเสริมและฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกต
2. สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศาสตร์เป็นของเด็กทุกคน
3. บอกวิธีการที่ผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กเรียนวิทยาศาสตร์
4. ปลูกฝังให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์จะนำความสนุกสนาน และความพอใจ
5. สร้างความมั่นใจใสตนเองให้แก่เด็ก

บทบาทของครู
1. หาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับความรู้ที่เด็กมีครูต้องรู้ว่าเด็กแต่ละคนมีความรู้เบื้องต้นแค่ไหน
2. จัดเตรียมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์และเลือกสรรกิจกรรมที่เหมาะสมในการทำกิจกรรม
3. จัดสภาพห้องเรียนโดยคำนึงถึงเด็ก
4. ควรมีการแนะนะวัสดุอุปกรณ์วิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กสนใจ
5. ครูควรส่งเสริมด้านการสำรวจ
6. สอดแทรกทักษะวิทยาศาสตร์เข้ากับเนื้อหาการเรียนรู้
7. การสรุปความ โดยยอมรับความคิดเห็นของเด็ก

การสอนวิทยาศาสตร์
1. ประเมินพื้นฐานของเด็ก
2. เลือกกำหนดวัตถุประสงค์
3. วางแผนการจัดประสบการณ์
4. เลือกวัสดุอุปกรณ์
5. การสอน
6. การประเมิน

สิ่งสำคัญในการสอนวิทยาศาสตร์
    ให้ลองจับ  ให้ถาม  ให้ตรวจตรา สัมผัส ครูรู้จักเอาคำถามของเด็กมาใช้ถามเด็กอีกที ให้เด็กคิดและสังเกตมากขึ้น ให้เด็กมีโอกาสทดลองความคิดของเขา 




วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562

RECORDTNG DIARY9



บันทึกการเรียนครั้งที่9



วันพุธที่ 2ตุลาคม พ.ศ. 2562
EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

💬วันนี้มีการจัด สัมมนาหลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 1 ( Internship 1 ) ของพี่ๆชั้นปีที่ 5 ที่ได้ออกไปฝึกสอนที่โรงเรียนต่างๆ ซึ่งอาจารย์ให้นักศึกษามาเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากรุ่นพี่ ภายในงานจะมีการนำเสนอการจัดการเรียนการสอน และ ตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนในเรื่องต่างๆ ดังนี้

💚แนวการสอนแบบไฮสโคป  (High/Scope)
เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือทำผ่านมุมกิจกรรมที่หลากหลาย ที่มีสื่อและการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กเป็นตัวช่วย โดยปล่อยให้เด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระด้วยตัวเอง มีพื้นฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีของเพียเจท์ (Piage’s Theory) ที่ว่าด้วยการพัฒนาทางสติปัญญา ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ ซึ่งเด็กสามารถสร้างความรู้ได้เองโดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้ (Constructive process of learning) ผ่านการกระทำของตน และการประเมินผลงานอย่างมีแบบแผน
หัวใจของไฮ/สโคป
             หลักปฏิบัติสำคัญที่ถือเป็นหัวใจของการจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคปนั้น  ประกอบด้วยกระบวนการ 3 กระบวนการ อันได้แก่
             1. การวางแผน (Plan) เป็นการให้เด็กกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือตามสิ่งที่ตัวเองสนใจ โดยคุณครูจะต้องเปิดโอกาสให้เด็กสนทนากับครู หรือสนทนาระหว่างเพื่อนด้วยกัน เพื่อวางแผนการทำงานอย่างเหมาะสม ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กต้องมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ ซึ่งอาจจะบันทึกด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูช่วยบันทึกก็ได้ ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยส่งเสริมความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองของเด็กและความรู้สึกในการควบคุมตนเอง ทําให้เด็กสนใจในกิจกรรมที่ตนเองได้วางแผนไว้
             2. การปฏิบัติ (Do) คือ การให้เด็กลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้อย่างอิสระตามเวลาที่กำหนด โดยเน้นให้เด็กได้ช่วยกันคิด ทดลองและแก้ปัญหาร่วมกันอย่างมีจุดมุ่งหมาย ได้เรียนรู้ตามประสบการณ์ ค้นพบความคิดใหม่ๆ โดยคุณครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะและให้คำแนะนำ มากกว่าจะลงไปจัดการด้วยตัวเอง การทบทวน
             3. (Review) คือกระบวนการที่ให้เด็กสะท้อนผลงานของตัวเองที่ได้ลงมือทำผ่านการพูดคุยหรือแสดงผลต่างๆ เพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง
  นวัตกรรมจัดการศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดไฮ/สโคปนั้น นับได้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งที่ตอบโจทย์ของการจัดการศึกษาที่มีที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบ Active Participatory Learning คือ การให้เด็กมีประสบการณ์ตรงกับคน สิ่งของ เหตุการณ์ และความคิด ซึ่งนับว่าเป็นทักษะที่สำคัญในโลกยุคสมัยนี้เป็นอย่างยิ่ง

ให้กับครูการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมเด็กดีระดมสมองที่ร่วงหาเรื่องที่อยากเรียนประสบการณ์เดิมของเด็กเด็กเด็กเคยขึ้นเรือไหมให้ถามคำถามเกี่ยวกับเรือกับเด็กๆ
โครงร่างวิจัย
ตั้งคำถามก่อนเล่าประสบการณ์เดิมมีให้เด็กวาดภาพขึ้นกับสิ่งแวดล้อมเด็กรู้เรื่องเรือคืออะไรประเภทของเรือส่วนประกอบต่างๆอุปกรณ์วัสดุเรือมีกี่สีเรือมีกี่ชนิดมีการทำแห่งชาติเกี่ยวกับเรือกิจกรรมทัศนศึกษาการเขียนแผนก็คือแบ่งตามประสบการณ์ประเภทกิจกรรมสาระการเรียนรู้ขั้นตอนการทำขั้นสอน ขั้นสรุป จะประเมินผล

💛แนวการสอนแบบโครงการ ( Project Approach )
Project Approach เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ให้เด็กรูปแบบหนึ่ง ที่ให้โอกาสเด็กเลือกเรียนรู้ในสิ่งที่เด็กสนใจในสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเด็ก โดยเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ ตั้งคำถามในสิ่งที่ยังต้องการเรียนรู้หาคำตอบ รวมทั้งดำเนินการวางแผน สำรวจ สืบค้น บันทึก คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลและความรู้ต่างๆ เด็กเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยประสบการณ์ตรงหลากหลายวิธี แล้วสุดท้ายเด็กและครูร่วมกันสรุปเรียบเรียงขั้นตอนการเรียนรู้ และสิ่งที่เรียนรู้ออกมาเป็นชิ้นงานและนิทรรศการอันเป็นการสรุปความคิดรวบยอดที่ดี ต่อจากนั้นก็ทำการเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รับรู้ซึ่งเป็นการเรียบเรียงทบทวนวิธีการทักษะและข้อมูล ในการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เป็นระบบ
  การเรียนรู้แบบ Project Approach จะเป็นการเรียนรู้อย่างลุ่มลึกในสิ่งที่เด็กสนใจใกล้ตัวซึ่งเปรียบเทียบได้กับการเรียนรู้ด้วยวิธีการการดำเนินการวิจัยเบื้องต้น
การสอน 3 ระยะของ Project Approach
การเรียนรู้แบบ Project Approach แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 : การเริ่มต้นโครงการ
  คุณครูร่วมกันอภิปรายหัวข้อกับเด็ก ๆ เพื่อค้นหาประสบการณ์ที่เด็กมี สิ่งที่เด็กรู้แล้ว และสิ่งที่เด็กอยากรู้ เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ และแสดงความเข้าใจแนวคิดที่เกี่ยวข้อง จากการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
 ระยะที่ 2 : การพัฒนาโครงการ
   ขั้นตอนนี้จะเป็นการจัดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ทำงานภาคสนามและพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กสนใจเรียนรู้ โดยคุณครูจะเป็นผู้จัดหาทรัพยาการต่าง ๆคำถามถาม เพื่อกระตุ้นให้เด็กตอบคำถาม เพื่อช่วยเด็กในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลด้วยวัตถุจริง เปิดโอกาสให้เด็กแต่ละคนมีส่วนร่วมในการเป็นตัวแทนของสิ่งที่เค้ากำลังสืบค้น และช่วยให้เด็กสามารถทำงานตามความสามารถของตัวเองได้
ระยะที่ 3 : การสรุปโครงการ
   เด็กและคุณครูร่วมกันจัดนิทรรศการ โดยให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อ Project Approach ให้เด็ก ๆ ช่วยกันอภิปรายถึงหลักฐานที่สืบค้น เปรียบเทียบการตั้งสมมุติฐานว่าตรงกันหรือไม่ เล่าเรื่องโครงการของพวกเขาให้ผู้อื่นฟัง โดยเน้นจุดเด่นของโครงการ คุณครูและผู้ปกครองช่วยเด็ก ๆ วางแผนการดำเนินการ พร้อมเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็ก ๆ ทำและค้นพบ อย่างเต็มความสามารถ ความสนุกสนาน ความกระตือรือร้นและความภูมิใจในตัวเด็กผ่านผลงานต่าง ๆ


🚣  บรรยากาศภายในงาน  🚢











คำศัพท์
  1. Review         ทบทวน
  2. Internship     ฝึกงาน
  3. Interview      สัมมนา
  4. Boat              เรือ
  5. Project          โปรเจกต์





ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ดูแลได้อย่างทั่วถึงเนื่องจากวันนั้นอาจารย์ต้องไปเป็นกรรมการให้คะแนนในการนำเสนอผลงาน
ประเมินเพื่อน: พื่อนก็ช่วยกันตอบคำถามของอาจารย์แต่ว่าบางทีปิดเครื่องก็เลยแบบไม่อยากตอบบ้างมีเพื่อนส่วนหนึ่งก็เล่นบ้างอะไรบ้างไม่ได้สนใจอะไรมาก
ประเมินตนเอง :  ได้เทคนิคในการสอนเด็กได้รับความรู้มากมาย